ทางหลวงหมายเลข 404 เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมอำเภอปะเหลียน เข้ากับอำเภอเมืองตรัง โดย ผ่านอำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน เข้าสู่จังหวัดสตูล ผ่านอำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู ปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 404 มีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ใช้ทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางอีกทั้งแนวเส้นทางของโครงการผ่านพื้นที่อ่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดประเภทและขนาดโครงการ หรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561

กรมทางหลวงจึงว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาให้ดำเนินการสำรวจและออกแบบทางหลวงแนวใหม่ และทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 404 สานปะเหลียน - ทุ่งหว้า - ละงู รวมถึงจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศข้างต้น และเพื่อให้การพัฒนาโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่โครงการน้อยที่สุด

 
     
 
  1. เพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดทางหลวงแนวใหม่ และทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 404 สายปะเหลียน - ทุ่งหว้า - ละงู มีระยะทางประมาณ 16.000 กิโลเมตร

  2. เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีความสมบูรณ์ทางด้านวิศวกรรม สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคม

  3. เพื่อศึกษา รวบรวม และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม เสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ ตลอดจนมาตรการติดตามและตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 
     
 


เริ่ม 4 มีนาคม 2568 สิ้นสุด 27 พฤษภาคม 2569  รวมระยะทางดำเนินการ 450 วัน

 
     
 

แผนที่แสดงพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน
 

ทางหลวงหมายเลข 404 สาย ปะเหลียน - ทุ่งหว้า – ละงู มีจุดเริ่มต้นโครงการในพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล บนทางหลวงหมายเลข 404 ประมาณ กม. 70+350 และสิ้นสุดโครงการในพื้นที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล กม. ที่ 87+350 รวมทั้งโครงข่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง มีระยะทางประมาณ 16.000 กิโลเมตร (ระยะทางรวมทั้งแนวใหม่และแนวเดิม)
 
จังหวัด อำเภอ ตำบล
สตูล อำเภอทุ่งหว้า ตำบลทุ่งหว้า
    ตำบลนาทอน
    ตำบลป่าแก่บ่อหิน
  อำเภอละงู ตำบลกำแพง
1 จังหวัด 2 อำเภอ 4 ตำบล
 
 
 
     
 

 
 
  งานด้านการขนส่งและจราจร
    งานด้านการขนส่งและจราจร
 

• งานศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางโครงการและรูปแบบการพัฒนา

• งานวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐศาสตร์

• งานสำรวจและคาดการณ์ปริมาณจราจร และวิเคราะห์ระดับการให้บริการ


    งานด้านวิศวกรรม
 

• งานสำรวจแนวทางและระดับ

• งานสำรวจตรวจสอบดินและวัสดุ

• งานออกแบบรายละเอียดงานทาง

• งานออกแบบรายละเอียดทางแยก

• งานออกแบบโครงสร้างชั้นทาง งานฐานราก วิเคราะห์เสถียรภาพและการทรุดตัวของคันทาง

• งานออกแบบโครงสร้างสะพาน โครงสร้างทางแยกต่างระดับ อาคารระบายน้ำและโครงสร้างอื่น ๆ

• งานระบบระบายน้ำ

• งานระบบไฟฟ้า

• งานสถาปัตยกรรม

• งานดำเนินการด้านสิ่งสาธารณูปโภค

 

    งานด้านการประมาณราคาและการจัดกรรมสิทธิ์
 


• งานด้านเทคนิควิธีการก่อสร้างและแผนการก่อสร้าง

• งานคำนวณปริมาณงานก่อสร้างและประมาณราคา

• งานวิเคราะห์แผนการดำเนินการโครงการ

• งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

 

  การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจและสังคม
 


• ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ที่จะทำการศึกษา

• แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม

 

  การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
 


• การให้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์โครงการ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมตลอดระยะเวลาโครงการ

• การพบปะหารือและรับฟังความคิดเห็นของผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

• การจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

 

  การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
  การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE)
 


• ศึกษาและรวบรวมข้อมูลครอบคลุมพื้นที่โครงการ

• สรุปประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ และกำหนดหลักเกณฑ์

• ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อนำไปศึกษาต่อในขั้น EIA

 

  การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นรายละเอียด (EIA)
 


• รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและสำรวจข้อมูลสภาพแวดล้อมปัจจุบันในภาคสนาม

• ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม จากการพัฒนาโครงการ

• กำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม / มาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม

   
 
 

กรมทางหลวงกำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการและดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึง และครอบคลุมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนและชุมชนที่อยู่ในพื้นที่โครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับรู้ แสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนตลอดระยะเวลาการศึกษา โดยกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้